วันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ผู้นำ ในสภาพปัจจุบัน

สภาพปัจจุบัน ผู้นำ มี 4 แบบ คือ
      1.ผู้นำแบบเสรีนิยม (Laissez-faire leader) ผู้นำจะปล่อยให้ผู้ร่วมงานตัดสินใจดำเนินการได้เอง ไม่ต้องรอการตัดสินใจจากผู้บังคับบัญชา
     2.ผู้นำแบบเกื้อกูล หรือ แบบใช้พระคุณ(Charismatic Leadership) มีพฤติกรรมอ่อนโยน เห็นใจผู้ใต้บังคับบัญชา ใช้หลักธรรม หลักมนุษยสัมพันธ์
     3.ผู้นำแบบเผด็จการ (Autocratic Leader) เชื่อมั่นตนเอง ชอบสั่งการ ตัดสินใจตามอารมณ์ ผูกขาดการตัดสินใจที่ตัวคนเดียว
    4.ผู้นำแบบประชาธิปไตย (Democratic leader) ถือเอาความคิดของกลุ่มเป็นหลัก ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา ปัจจุบันถือว่าเป็นแบบผู้นำที่ดีที่สุด

ความหมายของ ผู้นำ

     Webster’s Encyclopedic Uunabridged Dictionary ได้บัญญัติว่า “Leadership” เป็นคำนามเกิดจากการผสมระหว่าง “Leader + Ship” มีความหมาย 4 ประการ ดังนี้ 1) ตำแหน่ง หรือหน้าที่ของผู้นำ 2) ความสามารถในการนำ 3) การนำ และ 4) ผู้นำกลุ่ม
     Yuk (1998) ให้คำนิยาม ว่า ภาวะผู้นำ เป็นพฤติกรรมส่วนตัวของบุคคลหนึ่งที่จะชักนำกิจกรรมกลุ่มให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน (Shared goal)
     DuBrin (1998) ให้ทัศนะว่า ภาวะผู้นำ เป็นความสามารถที่จะสร้างความเชื่อมั่นและให้การสนับสนุนบุคคลเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ
     Daft (1999) ให้ความหมายว่า ภาวะผู้นำ เป็นความสัมพันธ์ที่มีอิทธิพลระหว่างผู้นำ (Leader) และผู้ตาม (Followers) ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายร่วมกัน (Shared purposed)
     Greebberg และ Baron (2003) ได้ให้ความหมายว่า ภาวะผู้นำ เป็นกระบวนการที่บุคคลที่มีอิทธิพลต่อกลุ่มสมาชิก สามารถโน้มน้าวให้ทุกคนในกลุ่มทำงานเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ ตามเป้าหมายที่กลุ่มหรือองค์การกำหนดไว้
     McShane และ Von Glinow (2005) ได้ให้นิยามไว้ว่า ภาวะผู้นำ หมายถึงความสามารถที่มีอิทธิพลที่จะกระตุ้นจูงใจ และทำให้กลุ่มคนทุ่มเทความพยายามอย่างเต็มที่เพื่อให้เกิดประสิทธิผล และความสำเร็จขององค์การที่ตนเป็นสมาชิกอยู่
    สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์ (2547) ให้ความหมายของภาวะผู้นำไว้ว่า คือ ผู้นำที่สามารถในการควบคุมและกำกับพลังอำนาจทางอารมณ์ของตนไปเพื่อเสริมสร้างความพึงพอใจรวมทั้งขวัญและกำลังใจและแรงจูงใจของพนักงานตลอดจนส่งเสริมความมีประสิทธิผลให้แก่องค์การ
    นิตย์ สัมมาพันธ์ (2549) ให้คำจำกัดความว่า ภาวะผู้นำ คือ พลังชนิดหนึ่งที่สามารถส่งแรงกระทำอันก่อนให้เกดการขับเคลื่อนกลุ่มคน และระบบองค์กร ไปสู่การบรรลุเป้าประสงค์
    สุพานี สฤษฏ์วานิช (2549) ให้ทัศนะว่า ความเป็นผู้นำ หมายถึง ความสามารถที่จะมีอิทธิพลต่อผู้ตามหรือนำผู้ตามได้อย่างสัมฤทธิ์ผล หรือเป็นความสามารถในการสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นทำงานได้อย่างเต็มที่เพื่อที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ของงานอย่างเหมาะสม
    พิบูล ทีปะปาล (2550) ให้ความหมายของภาวะผู้นำว่า หมายถึง ความสามารถที่จะใช้ศิลปะความเป็นผู้นำโน้มน้าวบุคคลซึ่งเป็นผู้ตาม ให้เกิดการคล้อยตามยอมรับที่จะทุ่มเทความพยายามอย่างเต็มที่ให้การปฏิบัติงานบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้
    เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ (2550) ให้ทัศนะว่า ภาวะผู้นำเป็นการใช้อิทธิพลของบุคคลหรือของตำแหน่งให้ผู้อื่นยินดีปฏิบัติตามเพื่อที่จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายของกลุ่มตามที่กำหนดไว้
    ภารดี อนันต์นาวี (2551) กล่าวว่า ภาวะผู้นำ หมายถึง กระบวนการ และสถานการณ์ที่บุคคลหนึ่งได้เป็นที่ยอมรับให้เป็นผู้นำในกลุ่มและมีอิทธิพลเหนือพฤติกรรมของสมาชิกในกลุ่มบุคคลนั้น สมาชิกในกลุ่มเชื่อว่ามีความสามารถในการแก้ปัญหาต่างๆ ที่กลุ่มเผชิญอยู่ได้ โดยอาศัยอำนาจหน้าที่หรือการกระทำของผู้นำในการชักจูง หรือชี้นำบุคคลอื่นให้ปฏิบัติงานสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้

การจัดการความรู้

การจัดการความรู้
           การจัดการความรู้ (อังกฤษ: Knowledge management - KM) คือ การรวบรวม สร้าง จัดระเบียบ แลกเปลี่ยน และประยุกต์ใช้ความรู้ในองค์กร โดยพัฒนาระบบจาก ข้อมูล ไปสู่ สารสนเทศ เพื่อให้เกิด ความรู้ และ ปัญญา ในที่สุด การจัดการความรู้ประกอบไปด้วยชุดของการปฏิบัติงานที่ถูกใช้โดยองค์กรต่างๆ เพื่อที่จะระบุ สร้าง แสดงและกระจายความรู้ เพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้และการเรียนรู้ภายในองค์กร อันนำไปสู่การจัดการสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการดำเนินการธุรกิจที่ดี องค์กรขนาดใหญ่โดยส่วนมากจะมีการจัดสรรทรัพยากรสำหรับการจัดการองค์ความรู้ โดยมักจะเป็นส่วนหนึ่งของแผนกเทคโนโลยีสารสนเทศหรือแผนกการจัดการทรัพยากรมนุษย์  รูปแบบการจัดการองค์ความรู้โดยปกติจะถูกจัดให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กรและประสงค์ที่จะได้ผลลัพธ์เฉพาะด้าน เช่น เพื่อแบ่งปันภูมิปัญญา,เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน, เพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน, หรือเพื่อเพิ่มระดับนวัตกรรมให้สูงขึ้น
  ประเภทของความรู้
               ความรู้สามารถแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้สองประเภท คือ ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) และความรู้แฝงเร้น หรือความรู้แบบฝังลึก (Tacit Knowledge) ความรู้ชัดแจ้งคือความรู้ที่เขียนอธิบายออกมาเป็นตัวอักษร เช่น คู่มือปฏิบัติงาน หนังสือ ตำรา เวปไซด์ Blog ฯลฯ ส่วนความรู้แฝงเร้นคือความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน ไม่ได้ถอดออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร หรือบางครั้งก็ไม่สามารถถอดเป็นลายลักษณ์อักษรได้ ความรู้ที่สำคัญส่วนใหญ่ มีลักษณะเป็นความรู้แฝงเร้น อยู่ในคนทำงาน และผู้เชี่ยวชาญในแต่ละเรื่อง จึงต้องอาศัยกลไกแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้คนได้พบกัน สร้างความไว้วางใจกัน และถ่ายทอดความรู้ระหว่างกันและกัน
  ความรู้แบบฝังลึก
        ความรู้แบบฝังลึก (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ไม่สามารถอธิบายโดยใช้คำพูดได้ มีรากฐานมาจากการกระทำและประสบการณ์ มีลักษณะเป็นความเชื่อ ทักษะ และเป็นอัตวิสัย (Subjective) ต้องการการฝึกฝนเพื่อให้เกิดความชำนาญ มีลักษณะเป็นเรื่องส่วนบุคคล มีบริบทเฉพาะ (Context-specific) ทำให้เป็นทางการและสื่อสารยาก เช่น วิจารณญาณ ความลับทางการค้า วัฒนธรรมองค์กร ทักษะ ความเชี่ยวชาญในเรื่องต่างๆ การเรียนรู้ขององค์กร ความสามารถในการชิมรสไวน์ หรือกระทั่งทักษะในการสังเกตเปลวควันจากปล่องโรงงานว่ามีปัญหาในกระบวนการผลิตหรือไม่
  ความรู้ชัดแจ้ง
        ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่รวบรวมได้ง่าย จัดระบบและถ่ายโอนโดยใช้วิธีการดิจิทัล มีลักษณะเป็นวัตถุดิบ (Objective) เป็นทฤษฏี สามารถแปลงเป็นรหัสในการถ่ายทอดโดยวิธีการที่เป็นทางการ ไม่จำเป็นต้องอาศัยการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นเพื่อถ่ายทอดความรู้ เช่น นโยบายขององค์กร กระบวนการทำงาน ซอฟต์แวร์ เอกสาร และกลยุทธ์ เป้าหมายและความสามารถขององค์กร
ความรู้ยิ่งมีลักษณะไม่ชัดแจ้งมากเท่าไร การถ่ายโอนความรู้ยิ่งกระทำได้ยากเท่านั้น ดังนั้นบางคนจึงเรียกความรู้ประเภทนี้ว่าเป็นความรู้แบบเหนียว (Sticky Knowledge) หรือความรู้แบบฝังอยู่ภายใน (Embedded Knowledge) ส่วนความรู้แบบชัดแจ้งมีการถ่ายโอนและแบ่งปันง่าย จึงมีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า ความรู้แบบรั่วไหลได้ง่าย (Leaky Knowledge) ความสัมพันธ์ของความรู้ทั้งสองประเภทเป็นสิ่งที่แยกจากกันไม่ได้ ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน (Mutually Constituted) (Tsoukas, 1996) เนื่องจากความรู้แบบฝังลึกเป็นส่วนประกอบของความรู้ทั้งหมด (Grant, 1996) และสามารถแปลงให้เป็นความรู้แบบชัดแจ้งโดยการสื่อสารด้วยคำพูด
ตามรูปแบบของเซซี (SECI Model) (ของ Nonaka และ Takeuchi) ความรู้ทั้งแบบแฝงเร้นและแบบชัดแจ้งจะมีการแปรเปลี่ยนถ่ายทอดไปตามกลไกต่างๆ เช่น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การถอดความรู้ การผสานความรู้ และการซึมซับความรู้
การจัดการความรู้นั้นมีหลายรูปแบบ มีหลากหลายโมเดล แต่ที่น่าสนใจ คือ การจัดการความรู้ ที่ทำให้คนเคารพศักดิ์ศรีของคนอื่น เป็นรูปแบบการจัดการความรู้ที่เชื่อว่า ทุกคนมีความรู้ปฏิบัติในระดับความชำนาญที่ต่างกัน เคารพความรู้ที่อยู่ในคน เพราะหากถ้าเคารพความรู้ในตำราวิชาการอย่างเดียวนั้น ก็เท่ากับว่าเป็นการมองว่า คนที่ไม่ได้เรียนหนังสือ เป็นคนที่ไม่มีความรู้
ระดับของความรู้
หากจำแนกระดับของความรู้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระดับ คือ
       1.    ความรู้เชิงทฤษฏี (Know-What) เป็นความรู้เชิงข้อเท็จจริง รู้อะไร เป็นอะไร จะพบในผู้ที่สำเร็จการศึกษามาใหม่ๆ ที่มีความรู้โดยเฉพาะความรู้ที่จำมาได้จากความรู้ชัดแจ้งซึ่งได้จากการได้เรียนมาก แต่เวลาทำงาน ก็จะไม่มั่นใจ มักจะปรึกษารุ่นพี่ก่อน
      2.    ความรู้เชิงทฤษฏีและเชิงบริบท (Know-How) เป็นความรู้เชื่อมโยงกับโลกของความเป็นจริง ภายใต้สภาพความเป็นจริงที่ซับซ้อนสามารถนำเอาความรู้ชัดแจ้งที่ได้มาประยุกต์ใช้ตามบริบทของตนเองได้ มักพบในคนที่ทำงานไปหลายๆปี จนเกิดความรู้ฝังลึกที่เป็นทักษะหรือประสบการณ์มากขึ้น
      3.    ความรู้ในระดับที่อธิบายเหตุผล (Know-Why) เป็นความรู้เชิงเหตุผลระหว่างเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่างๆ ผลของประสบการณ์แก้ปัญหาที่ซับซ้อน และนำประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น เป็นผู้ทำงานมาระยะหนึ่งแล้วเกิดความรู้ฝังลึก สามารถอดความรู้ฝังลึกของตนเองมาแลกเปลี่ยนกับผู้อื่นหรือถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้พร้อมทั้งรับเอาความรู้จากผู้อื่นไปปรับใช้ในบริบทของตนเองได้
       4.   ความรู้ในระดับคุณค่า ความเชื่อ (Care-Why) เป็นความรู้ในลักษณะของความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ที่ขับดันมาจากภายในตนเองจะเป็นผู้ที่สามารถสกัด ประมวล วิเคราะห์ความรู้ที่ตนเองมีอยู่ กับความรู้ที่ตนเองได้รับมาสร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมาได้ เช่น สร้างตัวแบบหรือทฤษฏีใหม่หรือนวัตกรรม ขึ้นมาใช้ในการทำงานได้


เรียบเรียงโดย
1.นายวีระศักดิ์     อรุณโน       เลขที่  38
2. นางสถาพร      ศรีหาวงษ์    เลขที่  39
3. นางสุรางค์ศรี   อรุณโน        เลขที่  43

                         
อ้างอิงจาก
http://www.kmi.or.th/kmi-articles/prof-vicharn-panich/28-0001-intro-to-km.html

วันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2553



ปฎิบัติหน้าที่พิธีกรงานพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา   กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ณ วัดโพนทอง อำเภอพุทไธสง  จังหวัดบุรีรัมย์


          เข้าร่วมอบรมสัมมนาและรับป้ายสถานศึกษาพอเพียง  ถ่ายภาพร่วมกับท่าน
               ดร.ปรียานุช  พิบูลย์สราวุธ โครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง สำนักพระราชวัง

              
                          โรงเรียนพุทไธสง เป็นต้นแบบสถานศึกษาพอเพียง ปี 2550 


                                     คุณหญิง ดร. กษมา วรวงศ์ ณ อยุธยา 
อดีตเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  กระทรวงศึกษาธิการ
 
โรงเรียนพุทไธสงต้นแบบการจัดกระบวนการเรียนร้เพศศึกษาในโรงเรียน

ปฎิบัติหน้าที่พิธีกร งานเกษตรยั่งยืน  อำเภอพุทไธสง  ณ สนามโรงเรียนอนุบาลพุทไธสง





             แสดงนิทรรศการเศรษฐกิจพอเพียง ณ หอประชุมโรงเรียนพุทไธสง 
                                       อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์


              นำนักเรียนร่วมอบรมสัมมนาและแสดงนิทรรศการด้านเศรษฐกิจพอเพียง
                                 ที่โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยบุรีรัมย์


เราชาวโรงเรียนพุทไธสงประกอบพิธีถวายพระพรชัยมงคล แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอย่หัว เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2552  ณ สนามโรงเรียนพุทไธสง


                    ครู  นักเรียนและบุคลากรทุกฝ่ายของโรงเรียนพร้อมใจปฎิบัติธรรม
                                   เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระองค์ท่าน

               อำเภอพุทไธสงจัดงานวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5  ธันวาคม  มหาราช
                            ณ ศาลาประชาคม เทศบาลตำบลพุทไธสง
           นายอำเภอสุวัจชัย สังคพัฒน์ และภรรยา  ปลัดผดุงศักดิ์  อิ่มเอิบ ปลัดอำเภอพุทไธสง



                        พิธีจุดเทียนชัยถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา
                        พระบาทสมเด็จพระเจ้าอย่หัว ณ สนามโรงเรียนอนุบาลพุทไธสง


 โรงเรียนพุทไธสงได้รับรางวัลโรงเรียนคุณธรรมดีเด่น และนักเรียนคุณธรรมดีเด่น ได้รับเงินรางวัล จำนวน 100,000  บาทสำหรับโรงเรียน  และ จำนวน  40,000  บาทสำหรับนักเรียน จัดโดยธนาคารออมสินร่วมกับ สพฐ.




               พิธีกรวันครูอำเภอพุทไธสง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4
                                              ณ หอประชุมโรงเรียนพุทไธสง


พิธีกรงานอุปสบบทพระภิกษุ 100,000  รูป ณ วัดสมศรี  อำเภอนาโพธิ์  จังหวัดบุรีรัมย์






 ครูที่ปรึกษาโครงงานคุณธรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย
                ณ  มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ได้รับรางวัลเหรียญทองทั้ง 2 ระดับ


ลูกชาย บวชสามเณร ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  ที่โรงเรียนกาญจนาราชวิทยาลัย จ.ชัยภูมิ


                   นักเรียนในที่ปรึกษาชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6/3  โรงเรียนพุทไธสง





             ปฎิบัติหน้าที่พิธีกรงานมงคลสมรส คุณครูจุฬาลักษณ์ กับคุณครูไกรพจน์
                            ณ หอประชุมโรงเรียนพยัคฆภูมิพิสัย  จ.มหาสารคาม


       พิธีกร งานวิถีอีสานสืบสานวัฒนธรรมไทย ครั้งที่ 5  ณ สนามโรงเรียนพุทไธสง
แบบประวัติและผลงาน ครูดีในดวงใจ  ครั้งที่ 7 พ.ศ.2553
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4

ตอนที่ 1  ข้อมูลส่วนตัว
                 1. ชื่อ นางสุรางค์ศรี         นามสกุล        อรุณโน
                 2. เกิดวันที่  8     เดือน  มกราคม   พ.ศ.  2502        อายุ     50  ปี
                 3. วุฒิการศึกษาสูงสุด     ปริญญาตรี (กศ.บ)   สถาบันการศึกษา  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขต มหาสารคาม
                  4. ตำแหน่งปัจจุบัน   ครูวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ   กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม  ช่วงชั้นที่ 4
                 5. สถานศึกษาที่ทำงานปัจจุบัน   โรงเรียนพุทไธสง   ตำบล พุทไธสง   อำเภอ  พุทไธสง
 จังหวัดบุรีรัมย์      รหัสไปรษณีย์   31120 โทร(บ้าน) 044-689134  (โรงเรียน) 044-689015   (มือถือ) 089-5844909
                  6. ที่อยู่ที่ติดต่อได้สะดวกที่สุด  บ้านเลขที่ 111  หมู่ที่ 4   บ้านเตย   ตำบลพุทไธสง  อำเภอพุทไธสง 
  จังหวัดบุรีรัมย์  รหัสไปรษณีย์ 31120   โทร 044-689134  เครื่องโทรสาร 044-655593

ตอนที่ 2  เหตุผลที่เสนอให้ได้รับการสรรหาและคัดเลือกในโครงการ ครูดีในดวงใจ
               ข้าพเจ้าได้ประพฤติตนเป็นแบบอย่างของครูผู้มีจิตวิญญาณของความเป็นครูอย่างแท้จริง  ทุ่มเทเสียสละ  อุทิศตนในการปฏิบัติหน้าที่เต็มกำลังความสามารถ ดังนี้
               1. มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  การอบรมสั่งสอนศิษย์  การตรงต่อเวลาในทุกโอกาส  ความขยันหมั่นเพียรในงานที่ทำ  ความซื่อสัตย์สุจริตในการปฏิบัติหน้าที่และมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาปรับปรุงงานให้สำเร็จ
                 2. ประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้มีน้ำใจและเป็นผู้รู้รักสามัคคีโดยอุทิศตนเพื่อพัฒนางานในหน้าที่ให้บังเกิดผลดี  อุทิศตนเพื่ออบรมสั่งสอนศิษย์ด้วยความปรารถนาให้ศิษย์ได้ดี  ช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานและเชื่อฟังผู้บังคับบัญชา
                 3. ดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม  รู้จักขนบธรรมเนียมประเพณีและปฏิบัติด้วยความศรัทธา  ประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีของสมาชิกในครอบครัวและต่อชุมชน  ลดละเลิกและหลีกเลี่ยงอบายมุขทุกประเภท
                
    เหตุผลที่แสดงถึง  มีความมุ่งมั่นการปฏิบัติงานให้เกิดประโยชน์ต่อราชการโดยรวมและร่วมกิจกรรมอื่นอันส่งผลและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อนักเรียน
1. ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ตำแหน่งรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ ปีการศึกษา 2551 หัวหน้าสำนักงานวิชาการ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม หัวหน้างานโรงเรียนและชุมชน

หัวหน้างานโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา  ครูแกนนำในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพศศึกษาในโรงเรียน  ครูผู้รับผิดชอบโครงงานคุณธรรมเยาวชนไทยทำดีถวายในหลวง
2. ฝึกซ้อมนักเรียนเข้าแข่งขันทักษะความสามารถด้านวิชาการในระดับกลุ่ม/เขต/จังหวัด/ภาค ได้ทุ่มเทเสียสละฝึกซ้อมนักเรียนเต็มกำลังความสามารถ ในช่วงพักกลางวัน  หลังเลิกโรงเรียนและวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ กิจกรรมแข่งขันบรรยายธรรมได้รับรางวัลดีเยี่ยมระดับจังหวัด ประกวดร้องเพลงคุณธรรมได้รับเหรียญทองระดับภาคปี 2551  โครงงานคุณธรรมได้รับรางวัลเหรียญทองระดับเขตและระดับจังหวัดเป็นตัวแทนแสดงผลงานระดับภาค
3. เป็นผู้มีจิตศรัทธาในการปฏิบัติงานโดยไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม  โดยปฏิบัติหน้าที่พิธีกรดำเนินรายการให้อำเภอ,ชุมชน,โรงเรียน ในงานพิธีของทางราชการ ได้แก่ งานวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ  งานวันปิยมหาราชและงานตามประเพณี
4. เป็นผู้นำในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆของโรงเรียนและร่วมกับชุมชน โดยเป็นคณะกรรมการที่ปรึกษาฝ่ายบริหารของโรงเรียน กำหนดนโยบาย/รูปแบบกิจกรรมต่างๆโดยเฉพาะด้านพิธีการและพิธีกรดำเนินรายการ 
งานกิจกรรมทั้งในโรงเรียนและชุมชน
5. เป็นผู้ที่ได้รับความไว้วางใจจากผู้บริหารโรงเรียนให้รับผิดชอบโครงการ/งานพิเศษต่างๆในการส่งเข้าประกวดแข่งขัน  ได้แก่โรงเรียนคุณธรรมดีเด่นและนักเรียนคุณธรรมดีเด่นโดย สพฐ.ร่วมกับธนาคารออมสิน  ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศทั้งสองรายการ โรงเรียนพุทไธสงได้รับเกียรติบัตรและเงินรางวัลจำนวน 100,000 บาท นักเรียนชื่อนายโกเมนทร์  กุลไธสง ได้รับเกียรติบัตรและเงินรางวัลจำนวน 40,000 บาท ในปีการศึกษา 2550
 เป็นผู้นำในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา  สร้างจิตสำนึกและรณรงค์ให้นักเรียนรู้จักใช้จ่ายอย่างประหยัดโดยการออมเงินทุกวันกับห้องเรียน   การเปิด ปิดไฟ พัดลมทุกครั้งหลังเลิกใช้งาน  การใช้กระดาษทั้งสองด้าน    การนำกระดาษสมุดที่เหลือใช้กลับมาทำเล่มใหม่   รณรงค์ไม่ดื่มน้ำอัดลม

ตอนที่ 3  ผลงานที่สำคัญโดยย่อ
                               ชื่อผลงาน   คุณธรรมนำชัยสู่ลูกรัก
                ในช่วงเวลาของการปฏิบัติหน้าที่ราชการ 30  ปี ข้าพเจ้าได้มุ่งมั่นปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรักและศรัทธาในอาชีพครู ให้ความรักความเมตตาต่อศิษย์เหมือนลูก ให้ความรู้และอบรมสั่งสอนให้นักเรียนเป็นคนดี เป็นคนเก่ง สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ทุ่มเทความรู้ความสามารถ เพื่อพัฒนางานในหน้าที่ให้มีความเจริญก้าวหน้าและมีประสิทธิภาพ โดยยึดหลักครองตน ครองคนและครองงาน ข้าพเจ้าได้ยึดหลักธรรมในพระพุทธศาสนาคือหลักอิทธิบาท 4  และน้อมนำแนวพระราชดำริหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวปฏิบัติ ดำรงชีวิตอยู่บนพื้นฐานของความพอเพียง ใช้จ่ายตามความจำเป็นอย่างมีเหตุผล และแสวงหาความรู้เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเอง ให้รู้เท่าทันกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ  ลด ละ เลิก อบายมุขทุกประเภท นอกจากนั้นได้ยึดหลักความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยคำนึงเสมอว่าคนเรามีความรู้ความสามารถที่แตกต่างกัน ไม่มีใครรู้อะไรไปหมดทุกอย่าง ไม่มีใครที่ไม่รู้อะไรไปหมดทุกอย่าง เราทุกคนรู้บางอย่างและไม่รู้บางอย่าง
            แนวทางการปฏิบัติงาน/วิธีการจัดการเรียนการสอน  ข้าพเจ้าได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  ปี  2542  โดยเฉพาะหมวด 4 ว่าด้วยการจัดการศึกษาได้กำหนดไว้ว่า  การจัดการศึกษาต้องยึดหลักผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้ และพัฒนาตนเองได้ และถือว่า ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด (อุดมศักดิ์  พลอยบุตร.2545: 22)  โดยได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอนในรูปแบบของโครงงานคุณธรรม ใช้กระบวนการกลุ่มๆละ 3-5  คน ศึกษาเรียนรู้จากประสบการณ์จริง แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกันในหัวข้อ โครงงานคุณธรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  และ หัวข้อ  ลด ละ เลิกพฤติกรรมเสี่ยง มีจิตอาสา พาชุมชนเข้มแข็ง โดยให้เลือกศึกษาตามหัวข้อที่สนใจและอยากรู้  หลังจากนั้นจัดประกวดแข่งขัน แต่ละกลุ่มนำเสนอโดยจัดบอร์ดนิทรรศการ กลุ่มที่ชนะเลิศ อันดับที่ 1-3  ระดับช่วงชั้นที่ 3 และช่วงชั้นที่ 4 ได้เป็นตัวแทนของโรงเรียนเข้าแข่งขันในงานการแข่งขันทักษะความสามารถนักเรียนระดับกลุ่ม/ระดับเขตพื้นที่    จัดแข่งขันการประกวดแต่งเพลงและร้องเพลงคุณธรรม ระดับช่วงชั้นที่ 3 และช่วงชั้นที่ 4  ประเภททีมๆละ 3  คน โดยแต่งเนื้อร้องและทำนองเอง  ความยาวไม่เกิน  300  คำ  เป็นเพลงลูกทุ่ง  ผู้ที่ชนะเลิศได้เป็นตัวแทนโรงเรียนเข้าแข่งขันในงานแข่งขันทักษะความสามารถนักเรียนระดับกลุ่ม/ระดับเขตพื้นที่ และระดับภาค  จัดกิจกรรมแข่งขันบรรยายธรรม ระดับช่วงชั้นที่ 3 และช่วงชั้นที่ 4  เพื่อเป็นตัวแทนโรงเรียนเข้าแข่งขันระดับกลุ่ม /ระดับเขตพื้นที่และระดับจังหวัด  นอกจากนั้นข้าพเจ้าได้ผลิตสื่อ นวัตกรรม  เอกสารประกอบการเรียน สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม จำนวน 2 เรื่อง    เอกสารบทเรียนสำเร็จรูป  จำนวน  3  เรื่อง   สื่อมัลติมิเดีย ประกอบการสอนรายวิชาพระพุทธศาสนา  จำนวน  5  เรื่อง 


                    ตัวอย่างผลงานดีเด่น
1. ได้รับรางวัลชนะเลิศ   ดีเยี่ยม โครงงานคุณธรรม   ภายใต้ชื่อเรื่อง  ปั้นทรายได้ดี  ช่วงชั้นที่ 3  ระดับเขตพื้นที่โรงเรียน มัธยมศึกษา ในงานแข่งขันทักษะความสามารถนักเรียนด้านวิชาการ ปีการศึกษา 2552  ได้เป็นตัวแทนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์เขต 4 เข้าแข่งขันระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ จังหวัดอุบลราชธานี
2.  ได้รับรางวัลชนะเลิศ ดีเยี่ยม  โครงงานคุณธรรม  ภายใต้ชื่อว่า  สวยด้วยสมองสองมือ  ช่วงชั้นที่ 4 ระดับเขตพื้นที่โรงเรียนมัธยมศึกษา  ในงานแข่งขันทักษะความสามารถนักเรียนด้านวิชาการ ปีการศึกษา 2552ได้เป็นตัวแทนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์เขต 4 เข้าแข่งขันระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ จังหวัดอุบลราชธานี
3. ได้รับรางวัลชนะเลิศ ดีเยี่ยมโครงงานคุณธรรม เยาวชนไทยทำดีถวายในหลวง ปีการศึกษา 2552   ภายใต้ชื่อ
เรื่อง  ปั้นทรายได้ดี  ช่วงชั้นที่  3  ระดับเขตพื้นที่  ได้เป็นตัวแทนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์เขต 4
 เข้าแข่งขันระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ จังหวัดอุบลราชธานี
4. ได้รับรางวัลชนะเลิศ  ดีเยี่ยม โครงงานคุณธรรม เยาวชนไทยทำดีถวายในหลวง  ปีการศึกษา 2552    ภายใต้ชื่อ
เรื่อง  รักใสใสหัวใจคุณธรรม  ช่วงชั้นที่  4  ระดับเขตพื้นที่ได้เป็นตัวแทนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์เขต 4   เข้าแข่งขันระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ จังหวัดอุบลราชธานี
5.  ได้รับรางวัลชนะเลิศ  เหรียญทอง การประกวดแต่งเพลงคุณธรรม  ช่วงชั้นที่ 3-4  ในงานแข่งขันศิลปะหัตกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ   ปีการศึกษา 2551  ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา
6.  ได้รับรางวัลดีเยี่ยม  การแข่งขันบรรยายธรรม ช่วงชั้นที่ 4  ชื่อเรื่อง  ลดโลกร้อนด้วยธรรม  ในงานแข่งขันทักษะความสามารถนักเรียน  ระดับจังหวัด ปีการศึกษา 2551  ณ โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม
7.  ได้รับรางวัลชนะเลิศ  ดีเยี่ยม โครงงานคุณธรรม ปีการศึกษา 2551    ภายใต้ชื่อเรื่อง  รักชีวิตพิชิตน้ำอัดลม
 ช่วงชั้นที่  4  ระดับเขตพื้นที่ได้เป็นตัวแทนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์เขต 4   เข้าแข่งขันระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ จังหวัดขอนแก่น
8.ได้รับรางวัลชนะเลิศ  ดีเยี่ยม โครงงานคุณธรรม ปีการศึกษา 2550    ภายใต้ชื่อเรื่อง  การสร้างภูมิคุ้มกันให้นักเรียนรู้จักใช้จ่ายอย่างประหยัด   ช่วงชั้นที่  4  ระดับเขตพื้นที่ และระดับจังหวัด
9.  ผ่านการประเมินโรงเรียนต้นแบบการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา  รับป้ายและเกียรติบัตรสถานศึกษาพอเพียง   ปีการศึกษา  2550
                 ประโยชน์ที่ได้รับจากผลงาน   นักเรียนได้รับความรู้  ทักษะในการปฏิบัติงานและความภาคภูมิใจ  ครูได้รับความภาคภูมิใจในการปฏิบัติหน้าที่และได้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับนักเรียน โรงเรียนได้รับชื่อเสียงที่ดี
                                                                              

วันอาทิตย์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2553

รูปภาพกิจกรรม

พิธีกรอบรมสัมมนาหลักสูตรครูโรงเรียนพุทไธสง

  ติวเข้มยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ประชุมผู้ปกครอง มอบตัวนักเรียนใหม่

ให้คำแนะนำนักเรียนที่สอนอย่างมีความสุข

ร่วมงานประเพณีลอยกระทงกับชุมชน
                                                               
หน้าตาคนมีความสุข  สวยทุกคนค่ะ

ทำบุญตักบาตรวันขึ้นปีใหม่ค่ะ

คนมีบุญจึงได้มีโอกาสทำบุญ

 สนุกกับกิจกรรม christmas day โรงเรียนพุทไธสง

            พิธีกรอุปสมบทภิกษุ100,000  รูป ณ วัดเทพรังสรรค์ อ.พุทไธสง

      แสดงความยินดีกับน้องในสำนักงานวิชาการที่สอบบรรจุครูได้

             อบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนพุทไธสง
ความภูมิใจกับความสำเร็จของลูก 
พ่อแม่และลูก วันแห่งความสำเร็จ 
ลูกๆน่ารักกันทุกคน 
ยินดีกับลูกชายและเพื่อนๆ 
อนาคตที่ดีกำลังรออยู่นะจ๊ะ 
ลูกอาร์ม 
คุณพ่อไปแสดงความยินดีกับลูกชายที่โรงเรียนอัสสัมชัญ

วันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2553

สรุปหลักธรรมพระพุทธศาสนา

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประเภทอเทวนิยม คือ ไม่นับถือพระเจ้าเกิดขึ้นเมื่อ ๔๕ปีก่อนพุทธศักราช ผู้เป็นศาสดา คือ พระพุทธเจ้า มีพระนามเดิมว่า เจ้าชายสิทธัตถะ

เหตุผลที่ดลใจให้เจ้าชายสิทธัตถะหนีออกไปผนวช เพราะพระองค์ขณะเสด็จประพาสอุทยานทรงเห็นคนเกิด คนแก่ คนป่วยและคนตาย พระองค์ทรงคิดว่าสิ่งเหล่านี้คือความไม่แน่นอนของชีวิต พระองค์จึงมีความปรารถนาที่จะเสาะแสวงทางดับทุกข์ดังกล่าว
พระชนมายุ ๒๙ พรรษา ทรงออกผนวช
พระชนมายุ ๓๕ พรรษา ทรงตรัสรู้ธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระชนมายุ ๘๐ พรรษา เสด็จดับขันธปรินิพพาน
ก่อนปรินิพพานได้ประทานปัจฉิมโอวาทแก่สาวกและทรงเตือนให้สาวกปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความไม่ประมาท (อับปมาทธรรม)
หลักธรรมสำคัญของพระพุทธศาสนา
1. ขันธ์ 5 หรือ เบญจขันธ์ คือ องค์ประกอบของชีวิตมนุษย์ที่ประกอบด้วยรูปและนาม
*รูป คือ ส่วนที่เป็นร่างกาย ประกอบด้วยธาตุ 4 ได้แก่
- ธาตุดิน(ส่วนของร่างกายที่เป็นของแข็ง เช่น เนื้อ กระดูก ผม)
- ธาตุน้ำ (ส่วนที่เป็นของเหลวของร่างกาย) เช่น เลือด น้ำลาย น้ำเหลือง น้ำตา )
- ธาตุลม (ส่วนที่เป็นลมของร่างกาย ได้แก่ ลมหายใจเข้าออก ลมในกระเพาะอาหาร)
- ธาตุไฟ ( ส่วนที่เป็นอุณหภูมิของร่างกาย ได้แก่ ความร้อนในร่างกายมนุษย์)
 นาม คือ ส่วนที่มองไม่เห็นหรือจิตใจ ได้แก่
- เวทนา คือ ความรู้สึกที่เกิดจากประสาทสัมผัส เช่น สุขเวทนา ทุกขเวทนาและอุเบกขาเวทนา ไม่ยินดียินร้าย
- สัญญา คือ ความจำได้โดยอาศัยประสาทสัมผัส เมื่อสัมผัสอีกครั้งก็สามารถบอกได้
- สังขาร คือ สภาพที่ปรุงแต่งจิตใจให้คิดดี คิดชั่ว หรือเป็นกลาง สิ่งที่เข้ามาปรุงแต่งจิต ได้แก่ เจตนา ค่านิยม ความสนใจ ความโลภ และความหลง
- วิญญาณ คือ ความรับรู้ที่ผ่านมาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (อายตนะ 6)
2. อริยสัจ 4
อริยสัจ 4 แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ เป็นหลักคำสอนที่สำคัญที่สุดของพระพุทธศาสนา
เพราะเป็นคำสอนที่จะช่วยให้บุคคลรอดพ้นจากความทุกข์เพื่อสู่นิพพาน ได้แก่
1. ทุกข์ หมายถึง สภาพที่ทนได้ยากทั้งร่างกายและจิตใจ
1.1 สภาวทุกข์ หรือ ทุกข์ประจำ ได้แก่ เกิด แก่ เจ็บ ตาย
1.2 ปกิณกทุกข์ หรือทุกข์จร เป็นทุกข์ที่เกิดขึ้นภายหลัง เกิดขึ้นแล้วก็ผ่านไปและเกิดขึ้นเนืองๆ เช่น ความเศร้าโศก ความไม่สบายกายไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ
2. สมุทัย หมายถึง เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา( ความอยาก)
2.1 กามตัณหา คือ อยากในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่ตนยังไม่มี
2.2 ภวตัณหา คือ ความอยากมี อยากเป็น อยากให้สภาพที่ตนปรารถนาอยู่นานๆ
2.3 วิภวตัณหา คือ ความอยากมี อยากเป็น อยากให้สภาพที่ตนปรารถนาอยู่นานๆ
3. นิโรธ หมายถึง ความดับทุกข์ คือ ให้ดับที่เหตุ ซึ่งมีขั้นตอนตามลำดับในมรรค 8
4. มรรคมีองค์ 8 หนทางแห่งการดับทุกข์
4.1 สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ คือ มีความเข้าใจว่าอะไรคือทุกข์ อะไรคือสาเหตุแห่งทุกข์ อะไรคือความดับทุกข์
4.2 สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ คือ ความคิดที่ปลอดโปร่ง ความคิดไม่พยาบาท ความคิดไม่เบียดเบียน
4.3 สัมมาวาจา วาจาชอบ คือ ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ
4.4 สัมมากัมมันตะ การงานชอบ คือ ไม่ทำลายชีวิตคนอื่น ไม่ขโมยของ ไม่ผิดในกาม
4.5 สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ คือ การทำมาหากินด้วยอาชีพสุจริต
4.6 สัมมาวายามะ ความเพียรชอบ คือ เพียรระวังมิให้ความชั่วที่ยังไม่เกิดขึ้น เพียรละความชั่วที่เกิดขึ้น เพียรรักษาความดีที่เกิดขึ้นแล้ว
4.7 สัมมาสติ ความระลึกชอบ คือ พิจารณากาย พิจารณาเวทนา พิจารณาจิต พิจารณาธรรม
4.8 สัมมาสมาธิ การตั้งใจชอบ คือ การตั้งจิตที่แน่วแน่อยู่ในอารมณ์ใด อารมณ์หนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่านเพื่อมุ่งมั่นกระทำความดี
จากอริยสัจ 4 สังเกตได้ว่า
1. ทุกข์ คือ ตัวปัญหา
2. สมุทัย คือ สาเหตุของปัญหา
3. นิโรธ คือ การแก้ปัญหา
4. มรรค คือ วิธีการแก้ปัญหา
มรรคมีองค์แปด คือ ไตรสิกขา ได้แก่
ศีล สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ
สมาธิ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
ปัญญา สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ
ความสำคัญของอริยสัจ 4
1. เป็นคำสอนที่คลุมหลักธรรมทั้งหมดของพระพุทธศาสนา
2. เป็นวิธีการแก้ไขปัญหาตามหลักวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือวิธีการแห่งปัญญา
3. คำสอนที่ชี้ให้เห็นว่ามนุษย์สามารถแก้ไขปัญหาของตนเองได้ ตามหลักความจริงแห่งธรรมชาติ
3. ไตรลักษณ์ คือ ลักษณะทั่วไปของสิ่งทั้งปวง
1. อนิจจตา หรือ อนิจจัง ความไม่คงที่ ไม่เที่ยง ไม่ถาวร ไม่แน่นอน
2. ทุกขตา หรือ ทุกขัง สภาพที่อยู่ในสภาวะเดิมไม่ได้ ต้องแปรปรวนไป
3. อนัตตา ความไม่ใช่ตัวตนแท้จริง ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา ไม่มีใครเป็นเจ้าของ
ในเรื่งไตรลักษณ์ พระพุทธศาสนาถือว่าเป็นคำสอนสูงสุด ซึ่งทุกสิ่งในสากลจักรวาลล่วนเป็นอนัตตาทั้งสิ้น
4. กฎแห่งกรรม หมายถึง กระบวนการกระทำและการให้ผลการกระทำของมนุษย์ ซึ่งมีหลักอยู่ว่า “คนหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น ผู้ทำความดีย่อมได้รับผลดี ผู้ทำกรรมชั่วย่อมได้รับผลชั่ว”
กรรม คือ การกระทำทางกาย วาจา หรือใจ ที่ประกอบด้วยเจตนา ดังพุทธวจนะตรัสว่า “ ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าเจตนาเป็นกรรม บุคคลจงใจแล้ว ย่อมกระทำทางกาย ทางวาจาและทางใจ




5. พรหมวิหาร 4
ธรรมสำหรับผู้เป็นใหญ่ ผู้ปกครอง พ่อแม่ จำเป็นต้องมีไว้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวสำหรับดำเนินชีวิต ได้แก่
1. เมตตา ความรักใคร่ ปรารถนาจะให้เป็นสุข
2. กรุณา ความสงสาร ต้องการที่จะช่วยบุคคลอื่น สัตว์อื่นให้หลุดพ้นจากความทุกข์
3. มุทิตา ความชื่นชมยินดีเมื่อเห็นบุคคลอื่นเขาได้ดี
4. อุเบกขา ความวางเฉยไม่ดีใจไม่เสียใจ เมื่อบุคคลอื่นประสบความวิบัติ
6. อัปปมาท
ธรรมที่กล่าวถึงความไม่ประมาท คือ การดำเนินชีวิตที่มีสติเป็นเครื่องกำกับความประพฤติปฏิบัติและการกระทำทุกอย่าง ระมัดระวังไม่ถลำตัวไปในทางเสื่อมเสีย พระพุทธเจ้าทรงมีพระดำรัสเกี่ยวกับความไม่ประมาทว่า “ ความไม่ประมาท ย่อมเป็นประโยชน์ยิ่งใหญ่”
7. สังคหวัตถุ 4
หลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจคน
1. ทาน การให้
2. ปิยวาจา การกล่าวถ้อยคำไพเราะอ่อนหวาน
3. อัตถจริยา การบำเพ็ญประโยชน์
4. สมานัตตตา การประพฤติตนสม่ำเสมอทั้งต่อหน้าและลับหลัง
8. ฆราวาสธรรม 4
หลักธรรมสำหรับผู้ครองเรือน ได้แก่
1. สัจจะ การมีความซื่อตรงต่อกัน
2. ทมะ การรู้จักข่มจิตของตน ไม่หุนหันพลันแล่น
3. ขันติ ความอดทนและให้อภัย
4. จาคะ การเ สียสละแบ่งปันของตนแก่คนที่ควรแบ่งปัน
9. บุญกิริยาวัตถุ 10
หลักธรรมแห่งการทำบุญ ทางแห่งการทำความดี 10 ประการ
1. ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
2. ศีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
3. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา
4. อปจายนมัย บุญสำเร็จด้วยการประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่
5. เวยยาวัจจมัย บุญสำเร็จด้วยการช่วยเหลือขวนขวายในกิจการงานต่างๆ
6. ปัตติทานมัย บุญสำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ
7. ปัตตานุโมทนามัย บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ
8. ธัมมัสสวนมัย บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม
9. ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม
10. ทิฏฐุชุกัมม์ บุญสำเร็จด้วยการทำความคิดความเห็นของตนให้ตรง
10. สัปปุริสธรรม 7
หลักธรรมของคนดี หรือคุณสมบัติของคนดี
1. ธัมมัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเหตุ
2. อัตถัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักผล
3. อัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักตน
4. มัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประมาณ
5. กาลัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักกาลเวลา
6. ปริสัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักชุมชน
7. ปุคคลปโรปรัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเลือกคบคนดี


เป้าหมายของชีวิต
พระพุทธศาสนาวางเป้าหมายชีวิตไว้ 3 ระดับ
1. เป้าหมายระดับพื้นฐาน (ทิฏฐธัมมิกัตถะ) หมายถึง เป้าหมายประโยชน์ในระดับชีวิตประจำวันที่มนุษย์ในสังคมต้องการ คือ
 ขยันหมั่นเพียร (อุฏฐานสัมปทา)
 เก็บออมทรัพย์ (อารักขสัมปทา)
 คบคนดีเป็นเพื่อน (กัลยาณมิตตตา)
 ใช้ทรัพย์เป็น (สมชีวิตา)
2. เป้าหมายระดับกลาง (สัมปรายิกัตถะ) เน้นที่ความเจริญงอกงามแห่งจิตใจ เป็นคุณค่าที่แท้จริงของชีวิต คือ
 มีศรัทธา เชื่อในพระรัตนตรัย เชื่อในกรรม และผลของกรรม
 มีศีล ความประพฤติทางกาย วาจา เรียบร้อย
 จาคะ ความเสียสละ
 ปัญญา รู้อะไรดีอะไรชั่ว
3. เป้าหมายระดับสูงสุด (ปรมัตถะ) หมายถึง ประโยชน์ที่เป็นแก่นแท้ของชีวิต เป็นจุดหมายสุดท้ายที่ชีวิตจะพึงบรรลุ คือ การบรรลุนิพพาน